ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยใช้อาคารเรียนในโรงเรียนการช่าง สตรีสมุทรสงคราม เปิดทำการสอนชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน ในสังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรม สามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีนางสาววันเพ็ญ วีระวัฒน์ ครูใหญ่โรงเรียนการช่างสตรีสมุทรสงคราม รักษาการณ์ในตำแหน่งครูใหญ่
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
- ตัว อ หมายถึง ตัวย่อของคำว่า อนุบาลประจำจังหวัด
- ดอกบัวสีชมพู 8 กลีบ หมายถึง ความดีงามของลูกอนุบาลที่นำหลักธรรม มรรคมีองค์แปด มาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
วิสัยทัศน์
- โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม เป็นโรงเรียนดี ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
ปรัชญา
- การศึกษา เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
คำขวัญ
- สะอาด สามัคคี เรียนดี มีวินัย
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
- ผู้เรียนเรียนดี มีมารยาทงาม
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
- การจัดการเรียนรู้สู่สำนึกรักบ้านเกิด
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากระบวนการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ OBECQA
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางโรงเรียน มาตรฐานสากล
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และสื่อเทคโนโลยีที่เทียบเคียงมาตรฐานสากล
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก
3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
4. เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ใช้ชีวิตพอเพียง และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัล OBECQA
6. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพโดยใช้หลักการทำงานเป็นทีม
หลักสูตรที่เปิดสอน
อนุบาล-ประถมศึกษา
หลักสูตรโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม พุทธศักราช 2552 (ฉบับปรับปรุง 2555) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แล้ว สถานศึกษาได้จัดหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ ส่งเสริมความสามารถเฉพาะทางให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา ดังนี้
1. จัดหลักสูตรสองภาษา (Mini English Program : MEP) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดย ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ 13
2. การจัดหลักสูตรพิเศษคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ (สอนเป็นภาษาอังกฤษ) ให้กับนักเรียนที่มี ความสามารถพิเศษ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 –3 ชั้นละ 1 ห้องเรียน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ชั้นละ 2 ห้องเรียน รวม 9 ห้องเรียน
3. จัดรายวิชาเพิ่มเติม คอมพิวเตอร์ ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เกินจากหลักสูตรกำหนด
4. จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่เป็นการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
5. จัดรายวิชาเพิ่มเติม ภาษาจีน สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 สอนโดยครู ชาวจีน
6. จัดกิจกรรมเสริม การสอนพระพุทธศาสนาโดยครูพระ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และการสอบธรรม ศึกษาตรี และธรรมศึกษาโท ทุกปีการศึกษาให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ทุกคน
7. จัดรายวิชาเพิ่มเติม “การศึกษาเพื่อเรียนรู้(Knowledge Inquiry)” ตามแนวทางของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทุกห้องเรียนโดยใช้การสอนเป็นทีม
8. จัดหน่วยการเรียนรู้เฉพาะ “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) ตาม แนวทางของหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกห้องเรียน
9. จัดการเรียนรู้หน่วยบูรณาการสาระท้องถิ่น แม่กลองเมืองสามน้ำ ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
10. จัดหน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียน 8 กลุ่มสาระเพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสู่ประชาคม อาเซียน